ซากเรือหลวงสัตกูตตั้งอยู่ประมาณ 1กิโลเมตรห่างจากชายฝั่งของเกาะเต่าในอ่าวแม่หาด แต่เดิมเป็นเรือรบหลวงที่ใช้ขนส่งสำหรับทหารเรือ สัตกูตมีอีกชื่อที่เรียกว่า LCI-742 ความยาวของอยู่ที่ 48เมตรและทั้งลำทำด้วยเหล็กกล้า ในปัจจุบันนักดำน้ำสามารถดำน้ำเพื่อสำรวจซากเรือหลวงสัตกูตได้อย่างง่ายดาย
ก่อนที่จะเป็นเรือรบหลวงของไทย มันเคยเป็นเรือรบของทหารอเมริกันมาก่อนในสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปีค.ศ.2011 รัฐบาลไทยร่วมมือกับศูนย์ดำน้ำท้องถิ่นและร้านค้าต่างๆจมเรือหลวงสัตกูตห่างจากชายฝั่งของเกาะเต่า ก่อนที่จะทำการจมเรือทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการล้างสารเคมีที่หลงเหลืออยู่ในเรือออกจนหมดแล้วเพื่อความปลอดภัยของชีวิตของสัตว์ใต้ท้องทะเลและความปลอดภัยในอนาคตสำหรับนักดำน้ำ

การดำน้ำที่ซากเรือหลวงสัตกูตสามารถไปสำรวจสถานที่ดำน้ำอื่นได้ด้วย เรียกว่าหินพีวีตั้งอยู่ทางเหนือและระยะห่างแค่ 3นาทีก็ถึงสำหรับคนที่รู้ทางไป คุณสามารถสอบถามสำหรับการวางแผนการดำน้ำได้จากไกด์ดำน้ำหรือครูผู้ฝึกสอนดำน้ำ
สถานที่นี้สามารถทำการสอนหลักสูตรการดำน้ำซากเรือได้ แต่การรับรองนี้ไม่ได้กำหนดให้ไปรอบๆซากเรือโดยที่ไม่ได้ดำเข้าไปในซากเรือ
รายละเอียดของซากเรือรบหลวงสัตกูต
ข้อมูลระดับความลึกของทะเล |
|
ความลึก: | 16 – 32 เมตร / 44 – 100 ฟุตหรือฟีต |
ขนาด: | กว้างคูณยาว 7*48เมตร |
ชนิดของพื้นผิว: | ตัวเรือทั้งลำเป็นเหล็ก มีพื้นทรายรอบๆ |
เพิ่มเติม: | ปืนยังอยู่ที่หัวเรือ สะอาดสำหรับนักดำน้ำ |
สภาพแวดล้อม |
|
การมองเห็น: | มีความแตกต่างระหว่าง 3 ถึง 25เมตร/ 9 ถึง 66ฟุตหรือฟีต ขึ้นอยู่กับแต่ละวัน |
กระแสใต้น้ำ: | จากไม่มีกระแสน้ำไปถึงกระแสน้ำแรง |
ผิวน้ำ: | บางครั้งอาจจะมีคลื่น แต่โดยปกติทะเลจะเรียบ |
อุณหภูมิ: | ระหว่าง 27องศาเซลเซียส/79องศาฟาเรนไฮ และ 31องศาเซลเซียส/94องศาฟาเรนไฮ |
ชนิดของสัตว์น้ำ |
|
ปลาที่พบเห็นโดยทั่วไป: | ปลากะรังลายจุดหรือปลากะรังน้ำกร่อย, ปลากระพงสีน้ำตาล |
ปลาหายาก: | ปลาไหลมอเรย์ตาขาว |
ปะการัง: | ไม่มี |
อื่นๆ: |